ความเสี่ยงทางคลินิก

“ความเสี่ยง”  หมายถึงเหตุการณที่อาจก่อให้เกิดความเสียหายขึ้นกับผูปวย อันมีเหตุเกิดจากกระบวนการใหบริการหรือกิจกรรมการตรวจวินิจฉัยและการดูแลรักษาพยาบาล หรืออุบัติการณไมพึงประสงค์

photo-d_risk

 

ความเสี่ยงทางคลินิก แบ่งเป็นระดับต่างๆ โดยดูจากผลกระทบที่เกิดขึ้นกับผู้่ป่วย ในโรงพยาบาลแม่ออนแบ่ง ความเสี่ยงทางคลินิกออกเป็น 9 ระดับ คือ ตั้งแต่ A ถึง I สามารถ จำได้ง่ายๆ ดังนี้

                                              A    เกิดที่นี่                      B     เกิดที่ไหน       

                                              C   เกิดกับใคร                 D    ให้ระวัง         

                                              E   ต้องรักษา                    F     เยียวยานาน    

                                              G   ต้องพิการ                   H    ต้องการปั๊ม

                                                                    I จำใจลา

 

 

  • ระดับ A  เกิดที่นี่ คือ เหตุการณ์ซึ่งมีโอกาสก่อให้เกิดความคลาดเคลื่อน  เช่น แพทย์เขียนชื่อยาด้วยลายมือที่อ่านยาก เสี่ยงต่อการจัดยาผิดจากชนิดที่สั่ง 1217929327
  • ระดับ  B  เกิดที่ไหน คือ เกิดความคลาดเคลื่อนขึ้นแต่ยังไม่กึงกับผู้ป่วย เช่น ใบสั่งยาที่เขียนไม่ชัดเจน และทำให้จัดยาผิด แต่มีการตรวจพบก่อนที่ผู้ป่วยจะได้รับยา
  • ระดับ  C  เกิดกับใคร คือ เกิดความคลาดเคลื่อนกับผู้ป่วยแต่ไม่ทำให้ผู้ป่วยได้รับอันตราย เช่น ผู้ป่วยได้รับยาผิด แต่เป็นยาที่ไม่มีผลต่อผู้ป่วย ยกตัวอย่าง เป็นยาวิตามิน หรือ มีราวกั้นระเบียงผุ ผู้ป่วยพิงและราวหัก แต่ผู้ป่วยได้พลัดตกลงไป
  • ระดับ  D  ให้ระวัง คือ เกิดความคลาดเคลื่อนกับผู้ป่วย ส่งผลให้ต้องเฝ้าระวังต่อ เช่น ยาที่จัดให้ผิดและผู้ป่วยได้กินไป เป็นยาที่มีอันตรายต่อผู้ป่วย ต้องเฝ้าระวังผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้น แต่ยังไม่มีความจำเป็นต้องให้การรักษาเพิ่มเติม
  • ระดับ  E  ต้องรักษา คือ เกิดความคลาดเคลื่อนกับผู้ป่วย เกิดอันตรายชั่วคราวและต้องมีการบำบัดรักษา เช่น ผู้ป่วยที่ได้รับยาผิด เกิดอาการ มีผื่นคันตามตัว สงสัยแพ้ยา ต้อง ให้ยาแก้แพ้ หรือ ยาอื่นๆ
  • ระดับ  F  เยียวยานาน คือ เกิดความคลาดเคลื่อนกับผู้ป่วย เกิดอันตรายชั่วคราวและต้องนอนร.พ.นานขึ้น เช่น ผู้ป่วยได้รับยาผิดชนิด และมีอาการแพ้แบบรุนแรง ต้องให้การรักษาอาการแพ้เป็นเวลานาน
  • ระดับ  G  ต้องพิการ คือ เกิดความคลาดเคลื่อนกับผู้ป่วย ส่งผลให้เกิดอันตรายถาวรแก่ผู้ป่วย เช่น ผู้ป่วยที่ได้รับยาผิด เกิดอาการแพ้รุนแรงทั่วทั้งตัว ส่งผลให้มีผลข้างเคียง คือ ตาบอดสองข้าง
  • ระดับ  H  ต้องการปั๊ม คือ เกิดความคลาดเคลื่อนกับผู้ป่วย ส่งผลให้ต้องทำการช่วยชีวิต เช่น ผู้ป่วยที่ได้รับยาผิด เกิดอาการแพ้รุนแรงมาก เกิด anaphylactic shock จนต้องได้รับการปั๊มหัวใจ
  • ระดับ  I   จำใจลา คือ เกิดความคลาดเคลื่อนกับผู้ป่วยซึ่งอาจเป็นสาเหตุของการเสียชีวิต

 

เหล่านี้คือ การจำแนกความเสี่ยงออกเป็น ระดับต่างๆ แต่อย่างไรก็ตาม การค้นหาความเสี่ยงอยู่เสมอ เพื่อแก้ไข และ ป้องกัน ไม่ให้ได้เกิดขึ้นกับผู้ป่วย เป็นหน้าที่ของพวกเราผู้ให้บริการทางสาธารณสุข

 

 หมายเหตุ ภาพประกอบจากอินเตอร์เน็ต