ดอยคำฝอย

ดอกคำฝอย

คำฝอย         ชาดอกคำฝอย

คำฝอย ชื่อสามัญ แซฟฟลาวเวอร์ Safflower, False Saffron, Saffron Thistle คําฝอย ชื่อวิทยาศาสตร์ Carthamus tinctorius L. จัดอยู่ในวงศ์ Compositae ซึ่งเป็นวงศ์เดียวกันกับเก๊กฮวย มีชื่อท้องถิ่นอื่นๆ อีกเช่น คำยอง คำหยอง คำหยุม คำยุ่ง (ลำปาง), คำ คำฝอย ดอกคำ (ภาคเหนือ), หงฮัว (จีน), ดอกคำฝอย คำทอง เป็นต้น สมุนไพรไทยดอกคำฝอยมีถิ่นกำเนิดในตะวันออกกลาง ในประเทศไทยบ้านเรามีแหล่งผลิตดอกคำฝอยที่สำคัญอยู่ทางภาคเหนือ เพาะปลูกกันมากในอำเภอพร้าว อำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่ และอำเภอพาน จังหวัดเชียงราย

สรรพคุณของคําฝอย
1. สมุนไพรดอกคําฝอย สรรพคุณช่วยลดไขมันในเส้นเลือด ป้องกันไขมันอุดตันในเส้นเลือด เนื่องจากดอกคำฝอยมีกรดไลโนเลอิค (Linoleic Acid) อยู่มากซึ่งกรดชนิดนี้จะเข้าไปทำปฏิกิริยากับไขมันในเลือดและขับออกทางปัสสาวะและทางอุจจาระ จึงเป็นทางเลือกที่ดีสำหรับผู้ที่ไม่ชอบรับประทานหัวหอม หรือกระเทียม ที่มีสรรพคุณเช่นเดียวกัน ด้วยการใช้ดอกคำฝอยแห้งประมาณ 2 หยิบมือ (2.5 กรัม) นำมาชงกับน้ำร้อนครึ่งแล้วใช้ดื่ม หรืออีกสูตรให้ใช้ดอกคำฝอย 1 หยิบมือและดอกเก๊กฮวย 10 ดอก ผสมด้วยน้ำสะอาด 500 cc. แล้วเคี่ยวจนงวดประมาณ30 นาที นำมาดื่มเป็นน้ำชาครั้งละ 1 ถ้วยแก้ววันละ 2-3 ครั้ง และสำหรับผู้ที่มีไขมันในเลือดสูงกว่าปกติก็ให้รับประทานติดต่อกันสัก 3-7 วัน และถ้าต้องการเพิ่มรสชาติหรือดับรสขื่นหรือเฝื่อน ก็ให้เติมน้ำตาลทรายขาวเข้าไป 2-3 ช้อนชาต่อน้ำ 1 ถ้วยแก้ว (ดอก,กลีบที่เหลือจากผล,น้ำมันจากเมล็ด)
2.ดอกคำฝอย ลดความอ้วน ! ด้วยการใช้ดอกประมาณ 5 กรัมนำมาชงกับน้ำร้อน 1 แก้ว ใช้ดื่มก่อนอาหารเช้าและเย็น (ดอก)
3.ช่วยบำรุงประสาท และระงับประสาท (ดอก,กลีบที่เหลือจากผล)
4.ช่วยรักษาโรคฮิสทีเรีย (Hysteria) หรือโรควิตกกังวลอย่างหนึ่ง หรือโรคขาดความอบอุ่น (ดอก)
5.ช่วยขยายหลอดเลือด ป้องกันโรคความดันโลหิตสูง ช่วยเพิ่มการไหลเวียนของเลือดในร่างกาให้ดียิ่งขึ้น ทำให้มีออกซิเจนเข้าถึงเซลล์ต่างๆ ได้ดี (ดอก)
6.ช่วยบำรุงโลหิต แก้โลหิตเป็นพิษ และช่วยฟอกโลหิต (ดอก,เกสร,กลีบที่เหลือจากผล)
7.ช่วยสลายลิ่มเลือด จะมีประโยชน์อย่างมากสำหรับผู้ที่ชอบกินของหวาน เพราะจะมีระดับน้ำตาลในเลือดสูง ทำให้เลือดเหนียวข้นจับตัวกันเป็นลิ่มเลือด ทำให้ระบบไหลเวียนโลหิตทำงานได้ไม่ดี โดยดอกคำฝอยจะช่วยสลายลิ่มเลือดให้เล็กลง ช่วยป้องกันไม่ให้เลือดเกาะตัวกันเป็นลิ่มเลือด (ดอก)
8.ช่วยบำรุงหัวใจ ช่วยทำให้มีเลือดไปเลี้ยงที่หัวใจมากยิ่งขึ้น ทำให้หัวใจแข็งแรง (ดอก,กลีบที่เหลือจากผล)
9.ช่วยแก้โรคลมเนื่องจากเส้นเลือดในสมองแตก (เมล็ด)
10.ช่วยรักษาอาการปวดหัวใจอันเนื่องมาจากเลือดและซี่ตับ หรือเลือดลมเดินไม่สะดวก (ส่วนมากจะใช้ร่วมกับสมุนไพรตังเซิน ชวนเจียง อู่หลินจือ)
11.ดอกคำฝอย สรรพคุณช่วยขับเหงื่อ ช่วยรักษาอาการไข้หลังของคลอดของสตรี ช่วยแก้ไข้ในเด็ก ช่วยแก้หวัดน้ำมูกไหล ช่วยรักษาท้องเป็นเถาดัน
12.เมล็ด สรรพคุณใช้เป็นยาขับเสมหะ เป็นยาถ่าย เนื่องจากมีฤทธิ์เป็นยาระบายอ่อน เมล็ดใช้เป็นยาขับปัสสาวะ ช่วยบำรุงโลหิตประจำเดือนของสตรี ช่วยขับระดูโลหิตประจำเดือนของสตรี ช่วยกระจายเลือดแก้ประจำเดือนคั่งค้างมาไม่เป็น ช่วยระงับอาการปวดประจำเดือนของสตรี ช่วยแก้อาการปวดมดลูก และลดอาการอักเสบของมดลูกในสตรี แก้อาการตกเลือด อาการปวดท้องหลังคลอด น้ำคาวปลาไม่หมด
13.น้ำมันจากเมล็ด ใช้ทารักษาโรคผิวหนังได้ ช่วยแก้ฝี

คำแนะนำในการใช้สมุนไพรดอกคำฝอย
แม้ว่าคำฝอยจะมีสรรพคุณที่หลากหลาย แต่ก็อาจส่งผลกระทบต่อระบบเลือดได้หากไม่รู้จักใช้ให้ถูกวิธี ซึ่งแพทย์แผนจีนมักจะใช้ดอกคำฝอยร่วมกับสมุนไพรชนิดอื่นอยู่เสมอ จะไม่ใช้เป็นยาเดี่ยว ใช้ในปริมาณที่เหมาะสม และไม่ควรใช้ในระยะยาว

โทษของดอกคำฝอย
การรับประทานอย่างต่อเนื่องหรือในปริมาณที่มากเกินไป อาจจะส่งผลทำให้โลหิตจางได้ มีผลทำให้มีเลือดน้อยลง มีอาการอ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย มีอาการวิงเวียนศีรษะ หรือกลายเป็นคนขี้โรคโดยไม่รู้ตัว
การรับประทานในปริมาณมากจนเกินไปอาจจะทำให้มีประจำเดือนมากกว่าปกติ และอาจทำให้มีอาการมึนงง หรือมีผดผื่นคันขึ้นตามตัวได้
สำหรับสตรีมีครรภ์ไม่ควรบริโภคสมุนไพรดอกคำฝอย เนื่องจากสมุนไพรชนิดนี้มีฤทธิ์เป็นยาบำรุงเลือดและช่วยขับประจำเดือน หากรับประทานหรือรับประทานในปริมาณมากๆ ก็อาจจะทำให้แท้งบุตรได้
ควรระมัดระวังเมื่อใช่ดอกคำฝอยร่วมกับยาในกลุ่มต้านการแข็งตัวของเกร็ดเลือด (Anticoagulant)
แหล่งอ้างอิง : เว็บไซต์กรมปศุสัตว์ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์, ฐานข้อมูลเครื่องยาสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี, เว็บไซต์สำนักงานโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี