การแปลผลตรวจการตรวจสุขภาพประจำปีทางห้องปฏิบัติการ ร.พ.แม่ออน

ตรวจสุขภาพประจำปี

การแปลผลตรวจการตรวจสุขภาพประจำปีทางห้องปฏิบัติการ ร.พ.แม่ออน 

CBC    Complete blood count ตรวจความสมบูรณ์ของเม็ดเลือด

  • Haemoglobin ฮีโมโกลบิน ทำหน้าที่จับกับออกซิเจนเพื่อนำออกซิเจนไปเลี้ยงส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย และจะพบว่าต่ำกว่าปกติถ้ามีโลหิตจาง ค่าปกติ 12-16 mg/dl
  • Haematocrit คือการตรวจความเข้มข้นของเม็ดเลือดแดงที่อยู่ในเลือดจะพบว่าต่ำกว่าปกติถ้ามีโลหิตจาง
  • WBC (เม็ดเลือดขาว) ทำหน้าที่ในการป้องกันการติดเชื้อโรคและสร้างภูมิต้านทานของร่างกาย โดยแบ่งเป็นชนิดย่อย ๆ ห้า ชนิด ทำหน้าที่ต่าง ๆ กัน ค่าปกติ WBC count 5,000-10,000 cell/cu.mm

–          Neutrophils เป็นเม็ดเลือดขาวชนิดที่สนองตอบต่อการอักเสบเฉียบพลันหรือติดเชื้อในร่างกาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งการติดเชื้อแบคทีเรีย คนปกติที่ไม่มีการติดเชื้อจะมีนิวโตรฟิลประมาณ 35-75 % ของเม็ดเลือดขาวทั้งหมด

–          Lymphocyte เป็นเม็ดเลือดขาวตัวเล็ก ซึ่งถือว่าเป็นพลเมืองหลักของเม็ดเลือดขาวทั้งหลาย มีหน้าที่ต่อสู้กับเชื้อโรคแทบจะทุกรูปแบบโดยเฉพาะอย่างยิ่งไวรัส คนปกติจะมีลิมโฟไซท์ประมาณ 25-35% 

–          Eosinophils เป็นเม็ดเลือดขาวชนิดที่สนองตอบต่อปฏิกิริยาแพ้ ซึ่งมักขึ้นสูงเมื่อมีสิ่งแปลกปลอมเข้ามาสู่ร่างกายแล้วร่างกายแพ้ เช่นมีพยาธิชนิดที่ไชไปทั่วตัวหรือภูมิแพ้ เป็นต้น คนปกติไม่ควรมีอีโอซิโนฟิลเกิน 3%

–          Monocyte เป็นเม็ดเลือดขาวตัวโต ที่มีหน้าที่แบ่งตัวแปลงร่างกลายเป็นมาโครฟาจ (macrophage) ทำหน้าที่จับกินเชื้อโรคในกระแสเลือด โมโนไซท์เคลื่อนที่เร็ว มีเรื่องอักเสบติดเชื้อตรงไหนมันไปที่นั่นทันที คนปกติมีโมโนไซท์ออกมาในกระแสเลือด 1-10% ส่วนใหญ่มันจะอยู่ในม้าม

–          Basophils เป็นเม็ดเลือดขาวอีกแบบหนึ่งที่มีสีสันโดดเด่นผิดอย่างอื่นและมีหน้าที่เกี่ยวกับการต่อสู้สิ่งแปลกปลอมเฉพาะที่ เช่นถูกเห็บกัดที่ไหนเบโซฟิลจะไปที่นั่น คนปกติจะมีเบโซฟิลออกมาในเลือดไม่เกิน 1%

  • Platelet (เกร็ดเลือด)ทำหน้าที่ในการแข็งตัวของเลือดและป้องกันการเสียเลือด ค่าปกติ 140,000-440,000
  • RBC morphology เป็นการตรวจดูรูปร่างของเม็ดเลือดแดงเพื่อบ่งชี้ภาวะของโลหิตจาง

Chemistry เคมีคลินิก

เบาหวาน

การตรวจวัดระดับน้ำตาลใน เลือด เพื่อทำการคัดกรองโรคเบาหวาน และกลุ่มที่เสี่ยงต่อการเป็นโรคเบาหวาน รวมทั้งใช้ติดตามผลการรักษาโรคเบาหวานด้วย ค่าปกติ FBS 75-100 mg%

โรคไขมันในเลือดสูง

  • Total cholesterol ระดับคอเลสเตอรอลรวมในเลือด เป็นปัจจัยที่มีความเสี่ยงในการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจ และโรคเส้นเลือดสมอง รวมทั้งความดันโลหิตสูง พบในไขมันจากสัตว์ ค่าปกติ < 200 mg/dl
  • HDL-cholesterol ไขมันชนิดดี ไขมัน ชนิดดี HDL ทำหน้าที่ป้องกัีน LDL และ Cholesterol ไปสะสมที่เส้นเลือดและอวัยวะภายใน สามารถทำให้เพิ่มขึ้นได้โดยการออกกำลังกาย หลีกเลี่ยงควันบุหรี่ และรับประทานอาหารประเภทปลาทะเลเช่น ปลาแซลมอน ปลาเทราท์ ค่าปกติ > 35 mg/dl
  • LDL-Cholesterol ไขมันชนิดไม่ดี การติดตามการควบคุม ระดับไขมันในเลือดเพื่อป้องกันความเสียงในการเกิดเส้นเลือดหัวใจตีบ จะทำการติดตามผลของระดับ LDL ให้ลดลงในระดับที่เหมาะสม ค่าปกติ <130 mg/dl
  • Triglyceride ไตรกลีเซอไรด์ ไตรกลีเซอไรด์ได้จากการ สังเคราะห์ที่ตับและการรับประทานอาหารที่มีไขมัน สาเหตุที่ทำให้ไตรกลีเซอไรด์สูงได้แก่ การไม่ออกกำลังกาย น้ำหนักตัวที่เกินมาตรฐาน การรับประทานอาหารที่มีคาร์โบไฮเดรตมากเกินไป ค่าปกติ < 200 mg/dl

โรคเก๊าท์

  • Uric acid ระดับยูริคในเลือดที่สูง กว่ามาตรฐานจะทำให้เกิดความเสี่ยงในการเกิดโรคเก๊าท์ โรคนิ่วในไต สาเหตุที่ทำให้ยูริคสูงขึ้นเกิดจากการบริโภคอาหารที่มีพิวรีนสูง ได้แก่ สัตว์ปีก เครื่องในสัตว์ ผักบางชนิด เช่น แตงกวา หน่อไม้ฝรั่ง ยอดผัก เช่นชะอม กระถินเป็นต้น ค่าปกติ M<7.2 F<6.0 mg/dl

การทำงานของไต

  • Blood urea nitrogen (BUN) เป็นการ วัดระดับปริมาณของเสียในร่างกายที่ตามปกติร่างกายจะสามารถขับออกไปได้ หากมีโรคไต จะทำให้มีการคั่งของสารชนิดนี้ในร่างกาย แต่อาจพบว่ามีค่าสูงขึ้นเล็กน้อยได้ หากอยู่ในภาวะขาดน้ำ รับประทานโปรตีนมากกว่าปกติ ค่าปกติ 5-24 mg/dl
  • Creatinine เป็นสารที่บ่งถึงการทำงานของไต ซึ่งถ้าหากมีค่าสูงกว่าปกติจะแสดงถึงการทำงานของไตที่แย่ลง

ค่าปกติ M<1.2 F<1.1mg/dl

การทำงานตับ

  • Serum glutamic oxaloacetic transaminase (SGOT/AST)เอนไซม์ ที่พบได้จากเนื้อเยื่อของอวัยวะหลายชนิดได้แก่ หัวใจ กล้ามเนื้อ สมอง ตับอ่อน ม้าม และไต ซึ่งจะสูงขึ้นผิดปกติ เมื่อมีการบาดเจ็บหรือการอักเสบของอวัยวะดังกล่าว ค่าปกติ M<35 F<31 U/L
  • Serum glutamic Pyruvic transaminase (SGPT/ALT)ลักษณะ เดียวกับ SGOT แต่มีความจำเพาะเจาะจงกับตับมากกว่า เนื่องจากพบได้ที่ตับมากกว่าอวัยวะอื่น ๆ ดังนั้นจะพบค่าเอนไซม์นี้สูงขึ้น เมื่อมีการอักเสบของตับ หรือการทำงานของตับมากขึ้นกว่าปกติเช่น การรับประทานยาบางชนิด ค่าปกติ M<45 F<34 U/L
  • Alkaline Phosphatase ตัวนี้จะสูงขึ้นในกรณีที่มีการอุดกั้นท่อน้ำดีใหญ่จากนิ่วหรือเนื้องอก และการอุดกั้นการไหลของน้ำดีในทางเดินน้ำดีเล็กภายในตับจากยา หรือ แอลกอฮอล์ alkaline phosphatase ยังพบได้ในอวัยวะอื่น เช่น กระดูก, รก และลำไส้ ค่าปกติ M<270 F<240 U/L

การตรวจปัสสาวะ (U/A)

การตรวจปัสสาวะเป็นการตรวจเพื่อดูการ ทำงานของไต และระบบทางเดินปัสสาวะ โดยการเก็บปัสสาวะต้องเก็บปัสสาวะส่วนกลาง โดยทิ้งส่วนต้นและส่วนท้ายออกเพื่อป้องกันการปนเปื้อนและสามารถแปลผลได้อย่างถูกต้อง ในการตรวจปัสสาวะจะเริ่มตั้งแต่การตรวจสี ความใส ความเป็นกรดด่าง และการตรวจหาสารต่าง ๆ ที่จะปนมาในปัสสาวะได้แก่

-ความขุ่น (Turbidity) ค่าปกติ ใส (clear) ปัสสาวะอาจจะขุ่นได้แต่ไม่พบสิ่งผิดปกติซึ่งอาจเกิดจากแบคทีเรียในปัสสาวะที่ตั้งทิ้งไว้ อาหารและยาบางชนิดที่รับประทาน เช่น amorphous ของฟอสเฟต ยูเรต และคาร์บอเนต เป็นต้น ปัสสาวะขุ่นที่มีความผิดปกติ เช่น พบเซลล์เม็ดเลือดแดง เม็ดเลือดขาว และ แบคทีเรียในผู้ที่มี การอักเสบของทางเดินปัสสาวะ

-ความเป็นกรด – ด่าง (pH) ค่าปกติ 4.0 – 8.0 เป็นการบอกความสามารถของไตในการควบคุมสมดุลกรด – ด่างของร่างกาย เปลี่ยนแปลงไปตามกระบวนการเผาผลาญอาหาร ชนิดของอาหาร โรคและการใช้ยา ค่าความเป็นกรดและด่างของปัสสาวะมีผลต่อการออกฤทธิ์ของยาบางอย่าง และการตกตะกอนของสารบางอย่างในปัสสาวะทำให้เกิดนิ่วได้   ปัสสาวะเป็นกรด พบในภาวะ  อดอาหาร รับประทานโปรตีนมากไป การติดเชื้อ ยาบางชนิด ปัสสาวะเป็นด่างพบในภาวะกินเจ ยาบางชนิด

-ความถ่วงจำเพาะ (Specific Gravity) ค่าปกติ 1.004 – 1.040 เป็นการวัดความสามารถของไตในการควบคุมความเข้มข้นและส่วนประกอบของของเหลวในร่างกายให้คงที่ อาจเปลี่ยนแปลงได้ขึ้นอยู่กับปริมาณน้ำที่ดื่มเข้าไป อุณหภูมิและการออกกำลังกาย  

  • ถ้าสูงเกินไป อาจจะเกิดจากร่างกายขาดน้ำ เช่น ดื่มน้ำน้อย ท้องร่วงรุนแรง และ ได้น้ำชดเชยน้อยเกินไปทำให้ขาดน้ำในกระแสเลือด ปัสสาวะจึงเข้มข้น
  • ถ้าต่ำไป อาจจะเกิดจากการดื่มน้ำมากเกิน ร่างกายจึงกำจัดน้ำ ออกมาทางปัสสาวะมาก หรือ เป็นโรคที่ทำให้มีปัสสาวะออกมามากผิดปกติ เช่น โรคเบาจืด

– โปรตีน ถ้าพบว่ามีโปรตีนปนมาในปัสสาวะต้องทำการตรวจการทำงานไตโดยละเอียดเนื่องจากอาจมีความผิดปกติของ

การทำงานไต

– น้ำตาล หากพบว่ามีน้ำตาลปนมาในปัสสาวะอาจบ่งถึงภาวะเบาหวานควรตรวจเพิ่มเติมเพื่อวินิจฉัยภาวะเบาหวาน

– เลือด หากพบว่ามีเลือดปน อาจเกิดจากนิ่วในระบบทางเดินปัสสาวะ ความผิดปกติของกระเพาะปัสสาวะเช่นมีเนื้องอกหรือมีการอักเสบของกระเพาะ ปัสสาวะ จึงต้องทำการตรวจเพิ่มเติมเพื่อหาสาเหตุ 

-คีโตน (Ketone)ค่าปกติ ไม่มี (Negative) การตรวจพบสารคีโตนในปัสสาวะอาจพบว่าเกิดจากการจำกัดอาหารประเภท คาร์โบไฮเดรต ทำให้ร่างกายมีการเผาผลาญอาหารประเภท ไขมันเพิ่มขึ้นเพื่อใช้เป็นพลังงาน จะพบได้ในโรคเบาหวาน หรือ มีการจำกัดอาหารประเภทคาร์โบไฮเดรต เป็นต้น

-เม็ดเลือดขาว (White Blood Cells) ค่าปกติ ไม่มี (0-1)  ถ้าพบแสดงว่ามีการอักเสบติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะ เช่นกระเพาะปัสสาวะอักเสบ หรือ กรวยไตอักเสบถ้าพบเม็ดเลือดขาวเล็กน้อย เช่น 1-2 Cell/ HDF อาจจะไม่สำคัญเท่าไรนัก อาจจะเกิดจากการเก็บปัสสาวะตรวจไม่ถูกวิธี แต่ถ้ามีการติดเชื้ออาจจะพบหลายสิบตัว หรือเป็นร้อยๆ ซึ่งจะรายงานว่า มีจำนวนมาก (Numerous)

-เม็ดเลือดแดง (Red Blood Cells) ค่าปกติ ไม่มี (0-1)  ถ้าพบแสดงว่ามีเลือดออกในทางเดินปัสสาวะ อาจจะจากอุบัติเหตุและมีประวัติบ่งชี้ว่า ได้รับการกระแทกตามทางเดินปัสสาวะ หรือมีเนื้องอกในทางเดินปัสสาวะ หรือมีนิ่วในทางเดินปัสสาวะ การติดเชื้อบางครั้งก็ทำให้มีเม็ดเลือดแดงออกมาในปัสสาวะได้ แต่มักจะมีเม็ดเลือดขาวมากกว่า สาเหตุที่พบบ่อยสุด ที่ทำให้พบเม็ดเลือดแดงจำนวนมากในปัสสาวะคือนิ่ว  ถ้ามีประจำเดือน ไม่ควรเก็บปัสสาวะตรวจ เพราะเลือดจากประจำเดือนจะลงไปปนกับปัสสาวะ ทำให้ พบเม็ดเลือดแดง จำนวนมากในปัสสาวะได้

-จุลชีพ (Microorganism) ได้แก่

  • แบคทีเรีย (Bacteria) เช่น Cocci , Bacilli
  • เชื้อรา (Fungi) เช่น Yeast , Budding , Pseudo , Hyphae
  • อสุจิ (Spermatozoa)
  • พยาธิ (Parastie) เช่น Tirchomonas vaginalis