การฝั่งเข็มรักษาโรค +++

Acupuncture Brochure

Life Center, Samitivej Hospital

ฝังเข็ม-Acu1

การฝังเข็ม (Acupuncture) คืออะไร

การฝังเข็ม เป็นวิธีการแทงเข็มรักษาโรคด้วยการใช้เข็ม ซึ่งมีหลายขนาด แทงลงไปตรงตำแหน่งของจุดฝังเข็มตามอวัยวะต่างๆ ของร่างกาย โดยใช้หลักการรักษาของแพทย์แผนจีนที่มีพัฒนาการมากกว่า 4000 ปี

การฝังเข็มเจ็บหรือไม่

ขณะที่เข็มผ่านผิวหนัง จะมีอาการเจ็บอยู่บ้างแต่ไม่มาก และเมื่อเข็มแทงเข้าไปลึกถึงตำแหน่งของจุดฝังเข็ม จะมีอาการปวดตื้อๆ หรือปวดหน่วงๆ และปวดร้าว ไปตามทางเดินของเส้นลมปราณ

เข็มที่ใช้ฝังเป็นอย่างไร

เข็มที่ใช้ในการฝังเข็ม มีขนาดเล็กและบางมาก เป็นเข็มตัน ปลายตัด ไม่มีสารหรือยาชนิดใดเคลือบเข็มอยู่ เข็มที่ใช้ในหน่วยเวชศาสตร์แผนจีน ของโรงพยาบาลเวชศาสตร์เขตร้อนเป็นเข็มใหม่ จะใช้เพียงครั้งเดียวแล้วทิ้ง ไม่นำกลับมาใช้ใหม่โดยเด็ดขาด

จากความรู้ทางการแพทย์ เราทราบแล้วว่า กลไกอย่างหนึ่งที่ทำให้การฝังเข็มสามารถรักษาโรคได้นั้นก็คือ เข็มสามารถกระตุ้นตัวรับสัญญาณประสาท (receptor) ทำให้เส้นประสาททำงาน กล้ามเนื้อที่หดเกร็งมีการคลายตัว และทำให้หลอดเลือดขนายตัว เพิ่มการไหลเวียนของเลือดได้ดีขึ้น ตัวรับสัญญาณประสาทเหล่านี้มักจะอยู่ใต้ผิวหนังชั้นลึก อุปกรณ์ที่จะสามารถกระตุ้นตัวรับสัญญาณประสาทนี้ได้ จะต้องสามารถสอดใส่หรือปักแทงให้ลึกไปในร่างกายได้โดยไม่เกิดอันตราย

[youtube]http://youtu.be/tm6Yq8klMxM[/youtube]

 

การฝังเข็มรักษาโรคอะไรได้บ้าง
ฝังเข็มสามารถรักษาโรคได้มากมาย ได้แก่
– กลุ่มอาการปวดต่างๆ เช่น ปวดหลัง ปวดคอ ปวดไหล่ ปวดเข่า ปวดไมเกรน ปวดศีรษะ ปวดประจำเดือน
– อัมพฤกษ์ อัมพาต
– โรคทางหู เช่น มีเสียงดังผิดปกติในหู หูดับ
– โรคภูมิแพ้ หวัดเรื้อรัง และหอบหืด
– โรคเครียด นอนไม่หลับ วิตกกังวล ซึมเศร้า
– โรคทางผิวหนัง เช่น สิว ฝ้า ผมร่วง งูสวัด ผื่นต่างๆ
– โรคอัลไซเมอร์ โรคพาร์กินสัน
– โรคระบบทางเดินอาหารและลำไส้ เช่น ท้องผูก ท้องเดิน ริดสีดวงทวาร สะอึก ปวดท้องเรื้อรัง
– โรคความดันโลหิตสูง และความดันโลหิตต่ำ
– โรคเบาหวาน
– ลดความอ้วน และเพิ่มน้ำหนักในคนผอม
– เลิกยาเสพติด เช่น สุรา บุหรี่ ยาเสพติด
– เสื่อมสมรรถภาพทางเพศ วัยทองทั้งหญิงและชาย
– โรคอื่นๆ ซึ่งแพทย์จะพิจารณาเป็นรายๆ ไป

องค์การอนามัยโลก (WHO) ได้ประกาศยอมรับการรักษาโรคและหรือบรรเทาอาการด้วย วิธีฝังเข็ม ไว้ดังนี้ 

 

1. การรักษาที่ได้ผลเด่นชัด เป็นพิเศษ

 อาการปวด ปวดต้นคอเรื้อรัง หัวไหล่ ข้อศอก สันหลัง ปวดเอว ปวดหัวเข่า ปวดจากโรครูมาตอยด์ ปวดจากการเคล็ดขัดยอก ปวดประจำเดือน ปวดนิ่วในถุงน้ำดี ปวดศีรษะ มีสาเหตุมาจากความเครียด หรือก่อนการมีประจำเดือน ปวดเนื่องจากสาเหตุต่างๆ ปวดในระบบทางเดินปัสสาวะ ปวดเส้นประสาท หรือปวดเส้นประสาทบนใบหน้า ปวดหลัง การผ่าตัด ปวดไมเกรน อาการซึมเศร้า

โรคอาการทั่วไป อัมพฤกษ์ และผลข้างเคียงหลังจากป่วยด้วยโรคทางสมอง ความดันโลหิตสูงหรือต่ำ งูสวัด เม็ดเลือดขาวน้อยกว่าปกติ สมรรถภาพทางเพศถดถอย ภูมิแพ้ หอบหืด หวาดวิตกกังวล นอนไม่หลับ ขากรรไกรค้าง แพ้ท้อง คลื่นเหียรอาเจียน การเลิกเหล้าบุหรี่ ยาเสพติด

2. การรักษาที่ให้ผลดี อาการเจ็บเฉียบพลันหรือเรื้อรังในลำคอ (ต่อมทอนซิล) อาการวิงเวียนศีรษะสาเหตุจากน้ำในช่องหู สายตาสั้นในเด็ก เด็กในครรภ์มารดาอยู่ในท่าขวาง (ทำให้คลอดยาก) อาการผิดปกติของลำไส้เมื่อเกิดความเครียด

3. การรักษาที่ได้ผล ท้องผูก ท้องเดิน การมีบุตรยาก ที่มีสาเหตุจากทั้งฝ่ายหญิงและฝ่ายชาย กระเพาะอาหารเลื่อนต่ำ เรอบ่อย ปัสสาวะไม่รู้ตัว ไม่คล่อง ไซนัสอักเสบ หญิงหลังคลอดมีน้ำนมไม่พอ

ชนิดการรักษาในหน่วยเวชศาสตร์แผนจีน

  1. การฝังเข็มร่างกาย (Body Acupuncture)
  2. การฝังเข็มที่ศีรษะ (Scalp Acupuncture)
  3. การฝังร่วมกับการกระตุ้นไฟฟ้า (Electro Acupuncture)
  4. การฝังเข็มหรือ Magnetic Ball บนใบหู (Ear Acupuncture)
  5. การเคาะกระตุ้นผิวหนัง (Cutaneous Needle)
  6. การเจาะปล่อยเลือด (Blood Letting)
  7. การครอบแก้ว (Cupping)
  8. การรมยา (Moxibution)

การกระตุ้นด้วยไฟฟ้า
หลังจากที่ฝังเข็มแล้ว ใช้สายไฟเชื่อมต่อกับเครื่องกระตุ้นไฟฟ้าชนิดพิเศษโดยเฉพาะ เป็นกระแสไฟฟ้าตรงประมาณ 9 โวลท์ จึงไม่สามารถทำให้เกิดไฟดูดได้ แต่จะรู้สึกกระตุ้นที่กล้ามเนื้อเป็นจังหวะ แรงพอทนได้ ทำให้เข็มกระดิก เป็นจังหวะตามกระแสไฟฟ้า และไม่ทำให้เจ็บปวดจนทนไม่ได้

การครอบแก้ว (Cupping)

เพื่อช่วยเพิ่มการไหลเวียนของเลือดในบริเวณที่มีการติดขัด ทำให้รักษาอาการปวดได้ หลังจากการทำแล้ว บริเวณผิวหนังอาจมีสีม่วงคล้ำเป็นจ้ำ แต่ไม่มีอันตราย และจะหายได้เองในเวลา 1-2 สัปดาห์

ต้องมารับการรักษาฝังเข็มนานเท่าไร

จะต้องมาฝังเข็มสัปดาห์ละ 2 ครั้ง และต้องมาฝังเข็มอย่างน้อย 10 ครั้ง หรือแล้วแต่การพิจารณาของแพทย์

กระบวนการรักษาโรค

กระบวนการรักษาโรคนั้น เป็นกระบวนการของสัมพันธภาพที่เกิดขึ้นระหว่างแพทย์กับผู้ป่วย ซึ่งความสัมพันธ์นี้ไม่ควรเป็นลักษณะของ “การสั่งทำ” แพทย์และผู้ปวยควรสร้างความสัมพันธ์ในลักษณะของ “ความร่วมมือ” กันมากกว่า ผลการรักษาของโรคหนึ่ง ๆ จะดีหรือไม่อย่างไรนั้น จึงขึ้นอยู่กับว่า แพทย์และผู้ป่วยจะสามารถประสานร่วมมือกันได้ดีเพียงใดอีกด้วย

เวชกรรมฝังเข็มกล่าวสำหรับคนไทยเราแล้ว ยังนับเป็นเรื่องแปลกใหม่  ดังนั้นเมื่อจะไปรักษาย่อมมีความกังวลใจและความหวาดกลัวเกิดขึ้นไม่รู้ว่าควรจะเตรียมปฏิบัติตัวอย่างไรบ้าง? ทำให้การประสานร่วมมือในการรักษาไม่ราบรื่น ผลการรักษาจึงอาจไม่ดีเท่าที่ควร ดังนั้น ก่อนไปฝังเข็ม ผู้ป่วยก็ควรต้องมีการเตรียมตัวด้วย

1. เตรียมใจไปรักษา

ผู้ป่วยรายหนึ่งเปนโรคกระดูกสันหลังเสื่อม มีอาการปวดหลังเรื้อรังมานานหลายปี ตะเวนไปรักษากินยาสารพัดแต่อาการไม่ทุเลา บังเอิญมีญาติคุยเรื่องฝังเข็มให้ฟังและพาผู้ป่วยมาพบแพทย์ เมื่อแพทย์ตรวจดุแล้ว จึงแนะนำให้รักษาด้วยการฝังเข็ม แต่ผู้ป่วยกลัวเจ็บมาก ขณะที่นอนบนเตียง เมื่อแพทย์จะลงมือปักเข็ม ผู้ป่วยก็ร้องเสียงดังลั่นด้วยความกลัว กล้ามเนื้อเกร็งไปหมดทั้งตัว จนกระทั่งแพทย์หมดปัญญาที่จะปักเข็มได้ สุดท้ายจึงต้องยกเลิกการรักษาไป

การฝังเข็มนั้นเป็ฯการรักษาที่มีลักษณะเป็น “หัตถการ” ต้องอาศัยความร่วมมือจากผู้ป่วย ถ้าผู้ป่วยหวาดกลัวดิ้นไปมาโดยเฉพาะถ้าเป็นเด็ก แพทย์ก็จะปักเข็มได้ไม่ถนัดหรือผิดพลาด ผลการรักษาย่อมไม่ดีอย่างแน่นอน หรือกระทั่งอาจเกิดอันตรายขึ้นได้

ผู้ป่วยที่มารักษาฝังเข็ม จึงควรมาด้วยความมั่นใจต่อการรักษา มิใช่มาด้วยความกังวล หวดวิตก บางคนกลัวเข็มเสียจริง ๆ กระทั่งเข็มฉีดยาก็ยังกลัวหรือแค่เห็นก็หวาดเสียว บางคนหน้าซีดใจสั่นหรือกระทั่งเป็นลมไปเลยก็มี ผู้ป่วยเหล่านี้ไม่ควรจะรักษาด้วยการฝังเข็ม เพราะผลการรักษามักจะไม่ค่อยดีเสมอ

แพทย์เวชกรรมฝังเข็มที่ดีจึงควรอธิบายให้ผู้ป่วยและญาติเข้าใจถึงเป้าหมาย วิธีการ ข้อดีข้อเสียของการรักษาให้ชัดเจนพอสมควร จะช่วยลดความกังวลของผู้ป่วยและญาติได้มากทีเดียว

2. สวมใส่เสื้อผ้าให้เหมาะสม

ในการฝังเข็ม ตำแหน่งจุดปักเข็มบางครั้งจะอยู่บริเวณใต้ร่มผ้า ผู้ป่วยจึงควรสวมใส่เนื้อผ้าที่เป็นชุดแยกส่วนระหว่างเสื้อกับกระโปรงหรือกางเกง เสื้อผ้าที่สวมใส่ไม่ควรรัดแน่นเกินไปเพื่อสะดวกในการถลกพับ แขนเสื้อและปลายขากางเกงควรให้หบวมหรือกว้างพอที่จะพักสุงขึ้นมาหรือข้อศอกหรือข้อเข่าได้ ในกรณีที่ต้องปักเข็มบริเวณไหล่หรือต้นคอก็ควรเลือกสวมเสื้อที่มีคอกว้าง ผู้ป่วยที่เป็นโรคอัมพาต ควรสวมเสื้อแขนกุดและกางเกงขาสั้นจะทำให้แพทย์ปักเข็มได้สะดวกง่ายดายขึ้น

โดยทั่วไปแล้วควรจัดให้ผู้ป่วยฝังเข็มในท่านอนเสมอ เพราะผู้ป่วยสามารถผ่อนคลายในขณะฝังเข็มได้ดีกว่า และยังช่วยป้องกันภาวะ “เวียนศีรษะหน้ามืด” ที่อาจเกิดได้ง่ายในรายที่วิตกหวาดกลัวมาก

3. รับประทานอาการให้พอเหมาะ

โดยทั่วไปแล้ว ผู้ป่วยที่มาฝังเข็มควรรับประทานอาการมาก่อนประมาณ 1-2 ชั่วโมง และไม่ควรรับประทานอาหารมากจนเกินไป หากเพิ่งรับประทานอาหารอิ่มมาใหม่ ๆ หรือรับประทานมากเกินไป อาหารยังคงค้างอยู่ในกระเพาะอาหารมาก เมื่อมาฝังเข็มซึ่งต้องนอนเป็นเวลานาน ๆ ถึง 20 นาที อาจทำให้รู้สึกอึดอัด โดยเฉพาะในท่านอนคว่ำผู้ป่วยอาจทนไม่ได้ นอกจากนี้ หากต้องปักเข็มบริเวณหน้าท้อง ถ้ากระเพาะอาหารบรรจุอาหารจนพองโตมาก ๆ อาจทำให้เกิดอันตายจากการปักเข็มทะลุเข้าไปในช่องท้องหรือกระเพาะอาหารได้ง่าย

ตรงกันข้าม ไม่ควรมารักษาในขณะที่กำลังหิวจัด เนื่องจากผู้ป่วยอาจเกิดอาการ “หน้ามืดเป็นลม” ได้ง่ายเมื่อกระตุ้เข็มแรง ๆ ทั้งนี้เพราะว่าร่างกายอาจขาดพลังงานที่จะเอามาใช้เผาพลาญ ในขณะที่ระบบประสาทและฮอร์โมนกำลังถูกกระตุ้นจากการฝังเข็ม

4. ทำความสะอาดร่างกายให้เรียบร้อย

การฝังเป็นมเป็นหัตถการที่ต้องใช้วัตถุแหลมคมปักผ่านผิวหนังลงไปในร่างกาย ผู้ป่วยจึงควรมีสภาพร่างกายที่สะอาด เพื่อลดโอกาสการติดเชื้อโรคให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ ก่อนมาฝังเข็ม หากผู้ป่วยสามารถอาบน้ำสระผมมาก่อนได้นั่นก็จะดีที่สุด หรืออย่างน้อยก็อย่าให้ส่วนของร่างกายบริเวณที่ต้องปักเข็มนั้นสกปรกจนเกินไปก็ถือว่าใช้ได้เหมือนกัน ผู้ป่วยบางคนมาฝังเข็ม ทั้ง ๆ ที่เท้ายังมีโคลนติดอยู่เลย เช่นนี้ก็ควรล้างเท้าให้สะอาดเสียก่อน เพราะอาจทำให้เชื้อโรคเข้าไปในร่งกายได้ง่าย

ผู้ป่วยที่ต้องรักษาด้วยการปักเข็มศีรษะ ควรตัดผมให้สั้นที่สุดเท่าที่จะทำได้ นอกจากนี้ ไม่ควรใช้เยลหรือครีมทาผมที่เหนียวเหนอะหนะหรือถ้าหากไม่ใช้เลยจะดีที่สุด เพื่อสะดวกแก่แพทย์ในการปักเข็มเช่นกัน

ผู้ป่วยสตรีที่กำลังมีประจำเดือนมานั้น สามารถปักเข็มรักษาได้ โดยไม่มีอันตรายอะไรเลย การที่ไม่นิยมฝังเข็มในช่วงนี้คงเป็นเรื่องของความไม่สะดวกหรือความกระดากอายมากกว่า

5. สงบกายและใจในขณะรักษา

เมื่อแพทย์ปักเข็มลงบนผิวหนัง ผู้ป่วยจะรู้สึกเจ็บเล็กน้อยคล้ายกับถูกมดกัด เมื่อแพทย์ปักถึงตำแหน่งจุด ผู้ป่วยจะรู้สึกตื้อ ๆ หรือหนัก ๆ หรือชา เล็กน้อย เมื่อแพทย์เริ่มทำการกระตุ้นหมุนปั่นเข็ม ก็จะรู้ตื้อ ๆ หรือหนัก ๆ หรือชาเล็กน้อย เมื่อแพทย์เริ่มทำการกระตุ้นหมุนปั่นเข็ม ก็จะรู้สึกตื้อหรือหนักชามากขึ้น ในบางครั้ง ความรู้สึกดังกล่าวอาจจะแผ่เคลื่อนที่ออกไปตามแนวเส้นลมปราณก็ได้ หากเกิดความรู้สึกเช่นนี้ มักจะมีผลการรักษาดีเสมอ

ในกรณีที่ใช้เครื่องกระตุ้นไฟฟ้า ผู้ป่วยจะรู้สึกว่า กล้ามเนื้อบริเวณที่ปักเข็ม มีการเต้นกระตุกเบา ๆ เป็นจังหวะตามกระแสไฟฟ้าที่กระตุ้น

โดยทั่วไปแล้ว ในระหว่างการฝังเข็มผู้ป่วยไม่ควรมีอาการเจ็บปวดหรือชามากจนเกินไป หากรู้สึกเจ็บปวดมากหรือมีอาการชามาก ๆ หรือรู้สึกเหมือนถูก “ฟฟ้าซ๊อต” ควรรีบบอกแพทย์ทันที เพราะเข็มอาจจะไปแทงถูกเส้นเลือดหรือเส้นประสาท หรือตำแหน่งของเข็มไม่ถูกต้อง หรือตั้งความแรงของกระแสไฟฟ้าจากเครื่องกระตุ้นไม่เหมาะสมก็ได้

“ในระหว่างรักษา หากมีอาการผิดปกติหรือไม่สบายใด ๆ เกิดขึ้น เช่น แน่นหน้าอก หายใจไม่สะดวก หรือมืด รู้สึกวิงเวียนศีรษะเหมือนจะเป็นลม ให้รีบบอกแพทย์ผู้รักษาหรือผู้ช่วยแพทย์ทันที”

ขณะที่มีเข็มปักคาร่างกายนั้น ควรนั่งหรือนอนนิ่ง ๆ ไม่ควรขยับเคลื่อนไหวส่วนของร่างกายที่มีเข็มปักคาอยู่ เพราะอาจทำให้เข็มงอหรือหักคาเนื้อได้ ยกเว้นการขยับตัวเล็ก ๆ น้อย ๆ ยังสามารถทำได้ แต่ร่ากายส่วนอื่น ๆ ที่ไม่มีเข็มปักอยู่นั้น สามารถขยับเคลื่อนไหวได้ตามสบาย

การฝังเข็มนั้นเป็ฯการกระตุ้นระบบประสาทเพื่อรปับการทำงานของอวัยวะระบบต่าง ๆ ให้สู่สภาพสมดุล ถ้าหากมีสิ่งใดมารบกวนระบบประสาทมากไปในขณะที่กำลังกระตุ้น กลไกการปรับสมดุลของการฝังเข็มก็ย่อมจะถูกกระทบกระเทือนไปด้วย

ระหว่างที่ปักเข็มรักษา ผู้ป่วยควรอยู่ในสภาพที่สงบผ่อนคลายอาจหลับตาและหายใจเข้าออกช้า ๆ ให้เป็นจังหวะสม่ำเสมอ เพื่อช่วยทำให้จิตใจสงบสบาย ในสมัยโบราณที่ชาวจีนรักษาด้วยการฝังเข็มนั้น จึงมักมีการฝึกเดินลมปราณหายใจร่วมไปด้วย ก็มีเหตุผลเช่นนี้นั่นเอง

ถ้าอยู่ในสภาพภายในห้องฝังเข็มมีบรรยากาศที่วุ่นวาย อึกทึกครึกโครม ผู้ป่วยนอนอยู่ในสภาวะที่ตืนตระหนก วิตกกังวล เจ็บปวดหรือหวาดกลัว ผลการรักษาก็มักจะออกมาไม่ค่อยดี

ในระหว่างที่ปักเข็มกระตุ้นอยู่นั้น ผู้ป่วยบางคนอาจรู้สึกง่วงนอน เนื่องจาก การฝังเข็มสามารถกระตุ้นให้ร่างกายมีการหลั่ง สารเอนดอร์ฟีน(endorphins) เกิดขึ้น สารนี้มีฤทธิ์คล้ายมอร์ฟีนช่วยลดความเจ็บปวดและช่วยกล่อมประสาทให้รู้สึกเคลิบเคลิ้ม เมื่อรักษาไปหลาย ๆ ครั้ง ผู้ป่วยบางคนจะพบว่าตนเองนอนหลับได้ง่ายขึ้นหรือหลับสนิทขึ้น และจิตใจก็จะสดชื่นแจ่มใสมากขึ้นกว่าเดิมอีกด้วย

จากการสำรวจพบว่า มีชาวอเมริกันจำนวนไม่น้อยทีเดียที่ไปฝังเข็มด้วยเหตุผลเพื่อกระตุ้นร่างกายและจิตใจให้สดชื่น ทั้งท ๆ ที่พวกเข้าไม่ได้เจ็บป่วยด้วยโรคอะไรเลยก็มี ซึ่งอาจจะเป็นเพราะฤทธิ์ดังกล่าวนี่เอง

6. การปฏิบัติตัวหลังการรักษา

หลังจากปักเข็มกระตุ้นครบเวลาตามกำหนด ซึ่งใช้เวลาประมาณ 20-30 นาทีแล้ว แพทย์ก็จะถอนเข็มออก บางครั้งอาจมีเลือดออกเล็กน้อย ตรงจุดที่ปักเข็มเหมือนกับเวลาไปฉีดยา เนื่องจากเข็มอาจปักไปถูกเส้นเลือดฝอยเล็ก ๆ เมื่อใช้สำลีกดเอาไว้สักครู่ เลือกก็จะหยุดได้เอง

หลังเสร็จสิ้นจากการรักษา โดยทั่วไปแล้วไม่มีข้อห้ามเป็นพิเศษอะไรเลย ผู้ป่วยสามารถรับประทานอาการ อาบน้ำ ทำกิจวัตรประจำวันต่าง ๆ ได้ตามปกติ ยกเว้นในกรณ๊ที่ติดเข็มคาใบหู เวลาอาบน้ำต้องระมัดระวังมิให้ใบหูเปียกน้ำ

โดยทั่วไปแล้วหลังจากฝังเข็ม ผู้ป่วยไม่จำเป็นต้องกลับไปนอนพักที่บ้านแต่อย่างไร สามารถขับรถหรือกลับไปทำงานได้ เว้นแต่บางคนอาจมีอาการอ่อนเพลียได้บ้างหลังจากฝังเข็ม เมื่อนอนพักแล้วก็จะหายไปได้

7. การรักษาอื่น ๆ ร่วมกับการฝังเข็ม

ผู้ป่วยที่มารักษาฝังเข็ม อาจมีโรคประจำตัวอย่างอื่นอยู่แล้ว เช่น โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ โรคไขมันในเลือดสูง โรคถุงลมโป่งพอง ฯลฯ ซึ่งมักจะต้องมียารับประทานรักษาอยู่เป็นประจำ หรือมีอาการรักษาอื่น ๆ เช่น กายภาพบำบัด ร่วมอยู่ด้วย

โดยทั่วไปแล้วการรักษาด้วยการฝังเข็ม มักสามารถจะรับประทานยาหรือใช้การรักษาอื่น ๆ ร่วมไปด้วยได้ โดยไม่มีข้อห้ามอะไร

อย่างไรก็ตามมีข้อสังเกตว่า การฝังเข็มอาจช่วยบรรเทาอาการโรคได้ด้วย เช่น ผู้ป่วยโรความดันโลหิตสูงที่มาฝังเข็มรักษาโรคอัมพาตของตนเอง อาจมีความดันโลหิตลดลงมาได้ในระหว่างรักษา ในกรณีเช่นนี้ก็ต้องปรับลดขนายาลงมาด้วย แต่ผู้ป่วยไม่ควรยหุดยาเหล่านั้นเองโดยพลการ

8. ข้อห้ามและข้อควรระวังสำหรับการฝังเข็ม

  1. ผู้ป่วยที่ตื่นเต้นหวาดกลัวต่อการรักษามากเกินไป ทั้ง ๆ ที่ได้พยายามอย่างเต็มที่แล้วก็ยังควบคุมจิตใจตนเองไม่ได้
  2. ผู้ป่วยที่เหน็ดเหนื่อยหลังออกกำลังกายหนัก
  3. สตรีตั้งครรภ์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงใกล้คลอด เพราะว่าผู้ป่วยเหล่านี้มักจะไม่สามารถทนนอนหรือนั่งเป็นเวลานาน ๆ ได้ การนอนหงายจะทำให้มดลูกและทารกในครรภ์กดทับหลอดเลือดดำใหญ่ในช่องท้อง อาจทำให้ผู้ป่วยมีอาการช๊อกเป็นลมได้ ส่วนท่านอนคว่ำก็ไม่เหมาะสมกับสตรีขณะตั้งครรภ์ เพราะจะกดทับทารกในครรภ์และก่อให้เกิดความอึดอัดไม่สบายแก่มารดา
  4. ผู้ป่วยที่มีความผิดปกติเกี่ยวกับการแข็งตัวของเลือด เมื่อเลือดออกแล้วหยุดยาก เช่น โรคฮีโมฟีเลีย เป็นต้น ถ้าจำเป็นต้องรักษาควรระมัดระวังเป็นพิเศษ การปักเข็มหรือการกระตุ้นเข็ม แพทย์จะต้องทำอย่างนุ่นนวลระวังมิให้เข็มปักโดนเส้นเลือดใหญ่ หลังจากถอนเข็ม ต้องกดห้ามเลือดให้นานกว่าผู้ป่วยทั่ว ๆ ไป
  5. ทารกเด็กเล็ก ผู้ป่วยโรคจิตที่ไม่สามารถให้ความร่วมมือในการรักษาได้
  6. ผู้ป่วยโรคหัวใจที่มีเครื่องกระตุ้นการเต้นหัวใจ (pacemaker) ติดอยู่ในร่างกาย ห้ามรักษาโดยเครื่องกระตุ้นเข็มด้วยไฟฟ้า เพราะอาจรบกวนการทำงานของเครื่อง ทำให้หัวใจเต้นผิดจังหวะจนเกิดอันตรายร้ายแรงได้ อย่างไรก็ตาม ในกรณีเช่นนี้ ยังคงสามารถปักเข็มกระตุ้นโดยวิธีการหมุนปั่นด้วยมือได้

ข้อห้าม” ดังกล่าวเหล่านี้ มิใช่เป็นข้อห้ามอย่างสมบูรณ์เด็ดขาด ตัวอย่างเช่น การปักเข็มในผู้ป่วยโรคจิตก็อาจทำได้เหมือนกัน หรือกรณีเด็กเล็กที่ให้ความร่วมมือในการรักษาก็สามารถรักษาได้เช่นกัน ขอเพียงแต่เข้าใจถึงเหตุผลที่จะทำให้เกิดอันตราย เมื่อตั้งอยู่บนพื้นฐานของความระมัดระวัง เราก็อาจพลิกแพลงปักเข็มให้แก่ผู้ป่วยเหล่านี้ก็ได้

ขอบคุณข้อมูลดีๆจากเว็บไซต์  http://www.samitivejhospitals.com และ www.youtube.com