แนวทางการเขียน service profile เพื่อให้เกิดคุณค่าและเห็นภาพการพัฒนา

ภาพนิ่ง1

 1. บริบท    เหมือนเป็นการเล่าสรุปข้อมูลที่สำคัญของหน่วยงาน เช่น หน้าที่ เป้าหมาย การให้บริการ สถิติการให้บริการ ขอบเขตการให้บริการ ผู้รับผลงาน ประเด็นคุณภาพ ความท้าทาย ความเสี่ยงที่สำคัญ   โดยต้องเลือกเอาแต่เนื้อหาที่สำคัญ ๆ สื่อให้ผู้อ่านมองเห็นภาพว่าหน่วยงานเป็นอย่างไร กำลังทำงานอะไรอยู่

2. กระบวนการสำคัญ (Key Process)    เน้นขั้นตอนหลัก ๆ ที่สำคัญ , การทำงานเป็นทีม และกระบวนการที่
ส่งผลถึงตัวผู้ป่วยมากกว่าการบริการและการจัดการ    ฉะนั้นที่ไม่ควรเขียนแบบกระบวนการหลักของงานพยาบาล
อย่างเดิม ๆ เช่น Entry – Assess – Planning – Implement – การประเมินซ้ำ – การวางแผนจำหน่าย  ถ้าให้เห็น
การทำงานเป็นทีมควรเขียนเป็นรูปแบบที่สื่อการทำงานทั้งทีมโดยเฉพาะแพทย์และพยาบาล
•  เช่น Key Process ของ Ward อาจเป็น 1. การประเมินแรกรับ
                                                            2. การให้การรักษาผู้ป่วยวิกฤต
                                                            3. การดูแลรักษาผู้ป่วยทั่วไป (Elective case)
                                                            4. การเตรียมผู้ป่วยก่อนผ่าตัด (ถ้ามี)
                                                            5. การดูแลผู้ป่วยหลังผ่าตัด (ถ้ามี)
                                                            6. การวางแผนจำหน่ายและการดูแลต่อเนื่อง
                                                            7. กระบวนการคู่ขนาน (อาจเป็นกระบวนการอื่น ๆ ที่ใช่เป็นหน้าที่หลัก                                                                   ของหน่วยงาน แต่หน่วยงานมีส่วนเกี่ยวข้อง เช่น การดูแลรักษา                                                                       เครื่องมือ , การส่งตรวจ Lab , การพัฒนาศักยภาพ , การประสาน                                                                     งานกับหน่วยงานต่าง ๆ ฯลฯ
          โดยทุกกระบวนการดังกล่าวต้องมี สิ่งที่คาดหวังจากกระบวนการ (Process Requirement) ที่เกิดจากการ
ดูแลเป็นทีมโดยเฉพาะแพทย์และพยาบาล โดยต้องมีความคาดหวังที่ไม่เพียงแต่เป็นการให้บริการ/บริหารจัดการ
อย่างเดียว แต่ต้องคาดหวังที่ความปลอดภัย การดูแลรักษาที่มีคุณภาพ ป้องกันความเสี่ยง แฝงไว้ทุกขั้นตอน
ฉะนั้นตัวชี้วัดที่สำคัญ (Performance Indicator) ควรจะต้องมีตัวชี้วัดทางคลินิก ทั้ง Common Clinical
Indicator และ Specific Clinical Indicator รวมอยู่ด้วย
3. ตัวชี้วัดผลการดำเนินงาน (Performance Indicator)
มาจากสองส่วน คือเลือกตัวชี้วัดหลักเดิมของหน่วยงานที่สอดคล้องกับเป้าหมาย (อาจเป็นตัวชี้วัดการประกัน
คุณภาพที่สำคัญ) โดยเฉพาะตัวชี้วัดที่มีการเคลื่อนไหว และเลือกตัวชี้วัดจากข้อ 2. ที่สำคัญมาร่วมด้วย  มีเป้า
หมาย และแสดงแนวโน้มของผลลัพธ์ (Trend) อย่างน้อย 3 ปี หรือ 3 ไตรมาส หรือ 3 เดือนหลังสุดก็ยังดี
4. กระบวนการหรือระบบงานเพื่อบรรลุเป้าหมายและมีคุณภาพ
4.1 ระบบงานที่ใช้อยู่ปัจจุบัน (รวมทั้งงานพัฒนาคุณภาพที่เสร็จสิ้นแล้ว)
     •ข้อนี้ถือว่าเป็นสาระที่สำคัญจริงๆ   สิ่งที่ หน่วยงานทำได้ดีทั้งหลายและยังใช้อยู่ต้องเอามาอธิบายเป็นข้อๆ ให้
เห็นภาพ และผลลัพธ์ที่ดีขึ้นอย่างชัดเจน โดยเขียนแยกแต่ละข้อ เขียนปัญหาที่มาสั้น ๆ การดำเนินการ และ
ผลลัพธ์ น่าจะประมาณ 10 – 15 บรรทัด ในแต่ละเรื่อง เช่น ระบบงานที่เราคิดว่าดีและภาพภูมิใจ , CQI (โดยเฉพะ
Clinical CQI) , นวัตกรรม (อาจมีรูปแทรกที่มุมเล็ก ๆ เพื่อสื่อให้ชัดเจนขึ้น) , CPG ,Clinical Tracer , Care Map
, Clinical Risk , ผลลัพธ์ที่ดีจากการทบทวน 12 กิจกรรม , WP / WI ที่ดี  สรุปอะไรก็ได้ที่เราทำได้ดีก็สามารถ
เขียนได้หมด บางหน่วยงานอาจมีมากแต่ถ้าทำจริงเขียนตามที่ทำ อ่านแล้วเพลิน
4.2 การพัฒนาคุณภาพที่อยู่ระหว่างดำเนินการ
•อันนี้เป็นเรื่องที่เราทำอยู่ อาจเป็น CQI , ระบบงาน , CPG ต่าง ๆ ที่เพิ่งทำยังไม่เกิดผลลัพธ์ หรือทำไปแล้ว
ผลลัพธ์เกิดแล้วแต่ยังไม่ดี ยังไม่บรรลุเป้าก็ให้ใส่ในข้อนี้ (ต้องอธิบายเป็นเรื่องๆ เช่นกัน ว่าเรื่องนี้ทำอะไรอยู่
ผลลัพธ์ ปัญหาอุปสรรค์ ต่าง ๆ
5. แผนพัฒนาต่อเนื่อง
•เป็นการวาดฝันว่าเรามีแผนอยากทำอะไรต่อไป (แต่ต้องเป็นสิ่งที่มีโอกาสเกิดขึ้นได้)